วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

รีวิวหนังสือ - Mind Gym

 Mind Gym : จิตวิทยาการกีฬาสร้างพลังใจ เพื่อความสำเร็จ

ซื้อมาเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2560 จาก Kinokuniya สาขา Emquartier ในหมวดหนังสือกีฬา แต่กว่าจะอ่านจบครบเล่มก็ล่อไปต้นสิงหา 

เวลาเดินเข้าร้านหนังสือ มุมหนังสือกีฬา กับสุขภาพนี่ไม่เคยพลาด อ่านรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้างก็ขอให้ได้หยิบดู และบางทีก็เดินไปควักเงินจ่ายซะงั้นนน 

ช่วง ปลายปี 2559 ถึง ต้นปี 2560 น่าจะเป็นเทรนด์ของหนังสือ anatomy เพราะเห็นออกมากันจัง ออกมาเยอะจนงงว่าของใครเขียนดีกว่ากัน โดยเฉพาะในมุมองของคนที่ไม่ได้เรียนหมอ แต่อยากจะรู้พอๆ กับหมอ 555 (เอาเป็นว่ามีเหมือนกัน และมีมากกว่า 5 เล่ม) ส่วน Mind Gym ที่กำลังจะพูดถึงนี้ ก็หยิบมาดูหลายครั้งแล้ว กว่าจะตัดสินใจซื้อมาได้ก็รีๆ รอๆ จนเหมือนจะไม่เหลือให้ซื้อนั่นแหละ ถึงจะตัดใจเอามา

พอได้อ่านแล้ว Wording สรุปเนื้อหาสั้นๆ ตอนท้ายของแต่ละบทค่อนข้างโดนใจอยู่ 

Part ของหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้ใช้ภาษาที่บอกตรงๆ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการแข่งขัน การแบ่งส่วนหลักๆ ของหนังสือนี่ เริ่มตั้งแต่การฝึกซ้อม จนถึงช่วงเวลาในสนามแข่งขัน

แต่สาระของทั้งเล่มที่สรุปมาได้ง่ายๆ เลยก็คือ การควบคุมใจตัวเองได้ สะกดจิตตัวเองให้เห็นภาพความสำเร็จก่อนที่จะลงมือทำ และการควบคุมสติในทุกสถานการณ์ให้เป็น ยิ่งเก่ง ยิ่งดัง ยิ่งต้องมีสติในการคุมทั้งเกมและอารมณ์ของตัวเอง รวมทั้งการ "แพ้ให้เป็น"



อ้างอิงทางการ : Gary Mack, 2002. Mind Gym: An Athlete's Guide to Inner Excellence. 1 Edition. McGraw-Hill Education.

วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

Don't Try This at Home !!

ถ้าพูดถึง Pinterest ตอนนี้คงมีน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ใช้แรกๆ จะสับสนพอสมควร ซึ่งใช้ไปสักพัก ระบบจะเลือกสิ่งที่น่าสนใจ มาให้แล้วเก็บไว้ดูได้โดยไม่ต้องโหลดมาเก็บให้เกะกะเมม แต่... วันนี้ ไม่ได้มาพูดถึงเทคโนโลยีค่ะ เราจะมาพูดถึงการออกกำลังกายคร่ะ 555

อยากสวย อยากผอม อยากหุ่นดี แบบสุขภาพดี แต่ไม่ลงทุนไปหาคนที่รู้จริงมาช่วย ก็คงจะเห็นผลหรอก... เอาเป็นว่าขอมาแนะนำเบื้องต้นว่าอยากสุขภาพดีแบบขี้งก ต้องทำยังไงบ้างดีกว่า...

เอาตัวอย่างของการดูเค้าแล้วมาฝึกเองมาให้ดู... สาวๆ กลุ่มนี้หาภาพที่สอนดัดตัวจาก Pinterest มาลองทำ ซึ่งเรื่องของการดัดตัวให้ได้ผล ต้องใช้คนที่มีความรู้มาช่วย ไม่ว่าจะช่วยจัดท่าให้ถูกต้อง หรือการช่วยเพิ่มความอ่อนตัว ซึ่งถ้าคนที่มาช่วยไม่มีความรู้เกี่ยวกับร่างกาย ตำแหน่งเส้นประสาท เส้นกล้ามเนื้อไม่แม่น นี่ถือว่าอันตรายมากๆ แต่เท่าที่ดูจากชื่อกลุ่มก็พอเดาได้ว่ามีพื้นฐานกันมาบ้างแล้วพอสมควรเลย แต่ก็เสี่ยงอยู่ดีกับท่าดัดหลัง...


กลุ่มท่าแรก ที่เป็นท่าฉีกขาไปหน้า-หลัง


อันนี้สาวๆ เค้าลองแล้วได้ผล ซึ่งเท่าที่ดูไม่ใช่ท่าที่เสี่ยงอะไร ใครอยากลอง เอาไปทำตามได้ แต่จำไว้ว่า ก่อนจะเริ่มต้นการยืดหนักๆ แบบนี้ ก็ต้องมีการอบอุ่นร่างกายด้วยเหมือนกัน >> ไปวิ่งมาสัก 100 เมตร หรือ กระโดดเชือกสัก 2-3 นาที ก็ได้ แล้วค่อยมาทำตามไปทีละท่า ยกเว้นอันสุดท้ายที่กรุณาทำตามอย่างระมัดระวัง... ส่วนมากที่ลงกันได้เพราะบิดสะโพกทั้งนั้น บิดมาก บิดน้อยก็แล้วแต่ พยายามเลี่ยง และให้คนช่วยดูให้จากมุมสูง ว่าตรงมั้ย เพราะถ้าเอียง ร่างกายจะจำไปแบบนั้น แล้วจะมีผลระยะยาว รวมทั้งการเล่นท่าอื่นๆ ในประเภทเดียวกันสำหรับคนที่อยากต่อยอดไปเล่นท่าโยคะยากๆ

จุดสังเกตคือ
  1. สะโพก ไม่มีการบิด หรือ เอียง และการ Split ขาแบบรูปที่ 8 ที่ถูกต้อง และถือว่าตัวอ่อนจริงๆ กางได้เยอะจริงต้องไม่มีการเอียงของสะโพกเลยแม้แต่องศาเดียว (ดูจากที่นักยิมนาสติกลีลาทำได้) ซึ่งยากมาก แต่ดูปลอดภัยกับร่างกายที่สุด เพราะแทบจะไม่มีการเบียด หรือทับโดนเส้นใดเลย (เมื่อกางได้แนวตรง ก็ไม่ต่างกับการเดินไง)
  2. หลัง ต้องเหยียดให้ตรงเสมอ และไหล่ เอว จนถึงสะโพกก็ไม่มีการบิด หลังตรงแล้วลงไปถึงได้แค่ไหนทำแค่นั้น ไม่ถึงพื้นก็หาอะไรมาค้ำ แนะนว่าหาซื้อบล็อกโยคะที่ Decathlon ได้ ไม่แพง และใช้แบบโฟมธรรรมดาก็พอแล้ว (ฝึกทุกวัน ไม่เกิน 3 สัปดาห์ก็แทบจะไม่ต้องใช้แล้ว)
ถ้าอยากทำได้ ให้ทำทุกวัน และไม่ฝืนท่าสุดท้าย ปล่อยลงตามธรรมชาติ ตามระยะเวลาการฝึก ไม่ถึงหาอะไรค้ำ

กลุ่มท่าที่ 2 และ 4

So DANGEROUS !!! หลัง ไม่ใช่เรื่องที่จะฝึกเอง ถ้าไม่รู้ว่ามีอะไรที่ต้องระวังบ้าง เพราะสิ่งที่ต้องระวัง มันไม่ได้อยู่ที่หลัง แต่มันอยู่ที่หน้าท้องต่างหาก... ท่าประเภทดัดหลัง ไม่ขอแนะนำ นอกจากฝึกเองตามที่เรียนมาก็ยังไม่ได้เยอะแล้ว ในชั่วโมงเรียนโยคะก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้ถูกต้องตามหลักไปซะทุกครั้ง (ไม่งั้นป่านนี้เอาขามาเกี่ยวคอได้ไปแล้ว O_o !!) สาวๆ มาฝึกกันเอง ไม่ได้ผลก็ไม่แปลกอะไร... แต่ท่าพวกนี้ก็ไม่ได้บอกว่าไม่ได้ผลนะ เพราะมันเอาใว้ให้คนที่ตัวอ่อนอยู่แล้วฝึกเพื่อรักษาความยืดหยุ่นไว้มากกว่าจะเน้นการฝึกจาเริ่มต้น แน่นอนว่าท่า Scorpion หรือจากท่าตัวอย่างที่ทำสะพานโค้งแล้วยกขา สะโพกก็ต้องวางตรงเหมือนท่า Split ขาอันแรกเหมือนกัน...

กลุ่มท่าที่ 3 Bow and Arrow


จริงๆ แล้วเป็นท่า Side Split หรือยืดขาด้านข้าง และมันเป็นท่าของคนที่ทำได้แล้ว !!! เห็นแล้ว No Comment ค่ะ... ถ้ายืดได้ ทำจากท่านั่งจะง่ายกว่ายืน เพราะยืดแค่ฝั่งเดียว ถ้ายืนจะเท่ากับยืด 2 ข้างพร้อมกัน เค้าถึงให้ฝึกท่า Pegion บังคับสะโพกให้ตรงได้ก่อนที่จะไปทำ Split ... จบข่าว

ปิดท้าย สำหรับคนที่ชอบการออกกำลังแบบฝึกเอาเอง... ทางที่ดีควรไปเรียนเอาพื้นฐานที่ถูกต้องมาก่อน พร้อมกับหาข้อมูลให้ดี (เรียกว่าหาข้อมูลพอๆ กับเวลาที่ทำวิจัยได้ก็ปลอดภัยขึ้นอีกเยอะ 555) มั่นใจว่าได้ข้อมูลมาพอค่อยฝึกไปทีละขั้น ร่างกายต้องการเวลาปรับสภาพ และพัฒนา...

ส่วนแอดฯ... ไม่ชอบออกกำลังนะ แต่เล่นกีฬาเลย บางที... ไม่เจ็บก็ยังไม่หยุด หึหึหึ

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Piyo : Pilates + Yoga

ประเดิมบล็อก (KM รอบ 2) ด้วยสิ่งที่ไม่น่าจะมีใครคิดว่าผู้เขียนที่สอนในสายแฟชั่น ออกแบบ และศิลปะ จะมีความรู้เรื่องประเภทนี้ได้ขนาดนี้... แต่ความจริงคืออยู่กับกีฬา และเขียนบล็อกสารพัดหัวเล่นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี ข้อมูลหลายอย่าง เริ่มต้นจากความผิดพลากของตัวเองผสมกับข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากประสบการณ์ของคนอื่นเช่นกัน (มีทฤษฏีที่ไหนมั่ง ที่มันเกิดก่อนการลงมือทำจริง หรือไม่ต้องมีการพิสูจน์ก็ใช้ได้เลย ? ?)

Piyo เป็นการออกกำลังกายที่มาจาก Pilates ผสมกับ Yoga จะว่าใหม่ก็ใหม่นะ ถ้าเทียบกับ T25 ที่ฮิตเล่นกันอยู่พักนึง การผสมระหว่างการออกกำลังกาย 2 ประเภทที่เริ่มจากการฝึกช้าๆ ให้ได้ใช้กล้ามเนื้ออย่างถูกต้อง และถูกจุด มาทำให้เร็วขึ้นไม่ได้มีประโยชน์เท่าที่ควรสำหรับคนที่ชอบเรียนเองตามออนไลน์แบบไม่เคยเข้าคลาสจริงที่สอนโดยครูที่ได้ใบรับรอง ซึ่งคงมีหลายคนที่ฝึกเอง แต่ไม่ได้รู้สึกว่าเห็นผล แล้วก็พาลไม่อยากออกกำลังไปซะอย่างนั้น บล็อกนี้ ในฐานะที่ผู้เขียนเองใช้เวลาอยู่กับสาระด้านการกีฬามากกว่างานสายแฟชั่น ก็จะขอแนะนำเพิ่มเติมสำหรบคนที่อยากลองออกกำลังกายแบบผสมอย่าง Piyo นี้
  1. ก่อนจะมาเริ่มต้นออกกำลังกาย ไม่ว่าจะทำตามคลิปนี้ หรือจะคิลปใดก็ตาม ควรจะเริ่มจากการดูจนจบก่อน 1-2 รอบ เพื่อจดท่าต่างๆ (คลิปที่ดีจะมีชื่อท่าบอกไว้)
  2. ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม ตั้งแต่เรื่องท่าที่ถูกต้อง การใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง แล้วเอามาลองทำตามไปทีละท่า ช้าๆ จนร่างกายเกิดความเคยชิน (หรือเรียกว่าทำให้ร่ายกายจำ)
  3. อย่าเปลี่ยนการออกกำลัง ถ้ายังคิดว่าทำไม่ถูกต้อง แต่ถ้าทำถูกต้องแล้วรู้สึกไม่ช่วยอะไรจริงๆ แต่ละท่าจะมีการเพิ่มความยากอยู่ ใช้การเพิ่มความยากก่อนที่จะเปลี่ยนท่าที่ใช้ แน่นอนว่า ใครที่เบื่อง่าย ออกกำลังไปก็ไม่เห็นผลง่ายๆ เหมือนกัน
  4. เพิ่มความเร็วทีละนิดก่อนจะมาทำตามคลิปสอนออกกำลังกาย โดยรักษาการใช้ใช้กล้ามเนื้อ และท่าที่ทำให้ถูกต้อง ซึ่งส่วนมาก ทีมที่มาแสดงให้ดูเค้าทำกันจนเป็นความเคยชิน หรือมีการซ้อมกันมาก่อนแล้ว รวมทังข้อจำกัดต่างๆ ในการอัพโหลด (ยาวไปคนก็ไม่ดูกัน หรือบางทีเซิฟต้นสายก็ไม่ให้อัพ บางทีก็เรื่องลิขสิทธิ๋บ้าง)
สำหรับคลิปนี้ เป็นเพียง Demo หรือตัวอย่างของการออกกำลังกายแบบผสม Piyo ซึ่งก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่เห็น หรืออย่าเพิ่งคิดว่าสั้นไป ไม่น่าจะได้อะไร ลอง.. ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บเกี่ยวกับโยคะ กับ พิลาทิสได้เลย... อย่าลืม แยกท่าไปหาข้อมูลเพิ่ม แล้วฝึกช้าๆ ให้แน่ใจว่าโพสไม่ผิดแล้วเพิ่มความเร็วทีละนิดก่อน พร้อมแล้วค่อยมาทำเต็ม Loop ตามวิดีโอนี้



ขอแนะนำบางท่าเท่าที่เคยเรียน และฝึกมา

- - - - - - - - - 1 - - - - - - - - -


Warrior I --- เช็คไปทีละ Step
ขาที่อยู่หน้าวางเข่าฉาก ฝ่าเท้าหันตรง วางเท้าเต็ม อีกข้างเหยียดตรงไปด้านหลัง (ต้องตรงแบบเข่าตึงเลยนะ) วางเท้าเฉียง 45 องศากับลำตัว วางเต็มเท้า สะโพกไม่เอียง (ระวังขาที่เหยียดจะดึงสะโพกไปด้วย วิธีวัด > เอามือเท้าเอว) เก็บหน้าท้อง (ครูโยคะเค้าเรียกดึงสะดือเข้า) แล้วยืดตัวไล่มาตั้งแต่เอวถึงอก ("ยืด" ไม่ใช่แอ่น!!) เหยียดแขนตรง (ส่วนมากจะงอศอกกัน พยายามเหยียดให้ตรงจริงๆ) แต่กดไหล่ลง (ไม่ยกไหล่ขึ้นตามแขน) เงยหัวแค่สายตามองนิ้วมือตัวเองได้ก็พอ

- - - - - - - - - 2 - - - - - - - - -


Warrior II --- เช็คไปทีละ Step
ท่านี้ทำต่อจาก Warrior I ได้ แต่จะเพิ่ม.. สะโพกขึ้นจนถึงไหล่ ให้เป็นแท่งเดียวกันหันเปิดออกด้านข้าง ระวังไหล่ กับ สะโพก 2 ข้างต้องอยู่ระนาบเดียวกัน (ขาข้างที่เหยียดไปจะต้องไม่ไปดึงสะโพกให้เอียงลง + แขนที่ไปข้างหลัง ถ้าตำแหน่งถูก แรกๆ จะรู้สึกเหมือนยกสูงกว่าข้างหน้า) และหัวตั้งตรงมองไปที่ปลายนิ้วข้างหน้า (ไม่มีกระจกหลายคนหัวจะเอียงไม่รู้ตัว) .... ที่สงสัยคือท่าต่อของ Warrior II ที่บิดตัวแล้วทำ Reverse ในโยคะจริงๆ จะหันเปิดออกด้านข้างไปข้างเดียวกัน เวลา Reverse มือจะลงไปแตะขาที่เหยียดอยู่ด้านหลังได้ แต่ในคลิปนี้ ดันไปคนละด้านกัน ซึ่ง ความเห็นส่วนตัวคือ ทำไปมันก็ได้ไม่เต็มที่ ถ้าใครเอาไปทำ ลองทำทั้ง 2 แบบดูว่า แบบไหน "ได้" มากกว่า

- - - - - - - - - 3 - - - - - - - - -

Warrior III ส่วนมากจะมาจากท่า Warrior I แล้วสปริงขาหลังยกขึ้น ยากมากสำหรับคนที่ยืนขาเดียวไม่ค่อยอยู่

ฝึกยืน... เอามือยันพื้นแล้วลองยกขาข้างนึงให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน (ไม่ถึงและยืนไม่อยู่จริงๆ หาอะไรเกาะไปก่อนละกัน) ฝึกแค่ยืนท่าตัว T ให้อยู่แล้วค่อยมาปรับอีกที

ส่วนใครทำได้แล้ว... ลองเช็คดู ดึงไหล่ กับ สะโพกข้างที่ยกขาลงให้เสมอกับอีกข้าง (คือไม่บิดขึ้น) เหยียดแขนตรงไปข้างหน้าให้รู้สึกเหมือนมีใครดึง ขาด้วย ให้อยู่ระนาบเดียวกันกับแขนเป็นตัว T หู 2 ข้างอยู่ระหว่างแขน ไม่ต้องก้ม หรือเงยหน้า ให้ตามองตรงไปที่พื้น ขาข้างที่ยืนถ้ายืนได้ให้เหยียดตรง วางเต็มฝ่าเท้า

เทคนิคยืนให้อยู่... ดึงสะดือเข้า (เก็บหน้าท้อง) เกร็งหน้าท้องไว้ + เก็บก้น (ภาษาบัลเล่ต์ ถ้าภาษาบ้านๆ เรียกขมิบตูดมั้งนะ) **แต่ไม่ได้ห้ามกลั้นหายใจนะ...

- - - - - - - - - 4 - - - - - - - - -

Seat Twist Spine ขัดใจอีท่านี้มากๆ คือมันเร็วมากจนเรียกว่าถ้าร่างกายไม่ร้อน มีสิทธิ์หลังเดี้ยงได้เลย... และไม่ใช่นั่งไข้วขาเฉยๆ เพราะท่าเต็มมาจาก... ขา 2 ข้างเหยียดตรง ไขว้ขาพับไปอีกข้างเอาเท้าวางที่พื้นข้างเข่าด้านนอก ร่นขึ้นมาต้นขานิดๆ พับขาอีกข้างเข้ามาข้างในให้ฝ่าเท้าใกล้ก้นที่สุด วางเท้าสบายๆ เพราะฉะนั้นสะโพกจะไม่มีการขยับหรือบิด


บิดไม่ไป ? หันแล้วตัวไม่ชิดขา ?...
ดึงสะดือเข้า (เก็บหน้าท้อง) ก่อนแล้วค่อยๆ เอวถึงเป็นแนวเดียวกัน หันไปพร้อมๆ กัน อาจจะฝึกแค่บิดตัวอย่างเดียวก่อน... ใช้เก้าอี้มีพนักพิงช่วยแทน > นั่งหันข้างบนเก้าอี้มีพนักพิง บิดตัวกันไปจับพนักพิง (เก้าอี้ดีไซน์มาให้รับก้นระวังจะทำให้เจ็บก้นแทน หาเก้าอี้เรียบๆ มาใช้นะคะ 555)



แขนไขว้ขาไม่ได้ ?
ยืดมาข้างหน้าไกลๆ ก่อนค่อยลดศอกลงแล้วล็อกเข่าไว้ (ยังไม่ต้องล็อกลงมาลึกถ้ายังทำไม่ได้)

- - - - - - - - - 5 - - - - - - - - -

Push Up อย่าว่าแต่คนไม่แข็งแรงเลย 3 ที แต่ถี่ๆ แบบนี้ ตัวผู้เขียนเองทำ 10 ทีติดกันได้ บางทียังไม่ไหวเลย !!!

เวรี่ บีกินเน่อร์... : หากำแพงเป็นคู่หูไปก่อน ยืนห่างพอที่เขนจะเหยียดตรงวางฝ่ามือได้พอดี เอนตัวเข้าหากำแพงงอศอกลงข้างตัว (ถ้ากางออกระวังได้กล้ามแขนก่อนจะได้อก) ระยะของการเอนเข้าหากำแพง แรกๆ ไม่ต้องเอนขนาดศอกพับก็ได้ ข้อมือแข็งแรงขึ้นค่อยเพิ่มระยะทิ้งตัว

บีกินเน่อร์... : ทำแบบเดียวกัน แต่ไต่ระดับลง มาโต๊ะสูง ลงมาเก้าอี้สูง เก้าอี้ปกติ โต๊ะเล็ก แล้วลงพื้น

อินเทอร์มีเดียด... : ลงพื้น เอาเข่ายัน (รองผ้าด้วย) ก่อนได้ แล้วค่อยๆ พยายามเหยียดตัวตรงแบบ Plank ถ้าจะให้ดีระหว่างที่ฝึกวิดพื้นแรกๆ ทำ Plank เพิ่มระยะเวลาค้างไปด้วย

แอดวานซ์ (เฉพาะคนอยากลอง) : มืออยู่พื้น ขาอยู่เก้าอี้ / วิดพื้นมือเดียว (อยากได้มากกกก)

ซุปเปอร์แอดวานซ์ (นี่คือ เขียนเล่นแล้วนะ 555) : Handstand Push-up โลดดด



จริงๆ ก็มีท่ามากกว่านี้ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเองได้คร่าาาาา ^ ^

วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เรื่องของถุงน่อง

หาข้อมูลเขียนหนังสือขอตำแหน่งวิชาการ (แต่ถึงจะขอหรือไม่ขอตำแหน่ง ก็เป็นคนที่หาข้อมูลแบบนี้อยู่แล้ว ไม่งั้นเพื่อนคงไม่ให้ชื่อว่าเจ้าแม่บล็อก 555) จริงๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาที่ทำเล่มแบบเต็มๆ แต่ก็พอจะมีข้อมูลที่เชื่อมโยงกันบ้าง เนื้อหาที่เอามานี้เป็นการแปลตามความเข้าใจ ไม่ถนัดแปลคำต่อคำ (เพราะเดี๋ยวจะยิ่งไม่รู้เรื่องเข้าไปอีก)

ถุงน่อง ยุคก่อนที่จะมี Lycra เขียนโดย SUSANNAH CONWAY เมื่อ (ส.) 10 October 1998 ใน The Independent มาจากประเด็นที่ต้องการหาว่าถุงน่องสเก็ต มันเริ่มมาจากไหน ?? เพราะข้อมูลแรกที่ได้มาคือ ช่วงที่เริ่มมีคนใส่ (ส่วนรายละเอียดย่อยกว่านี้ อดใจรอหนังสือเสร็จนะคระ หุหุหุ)
กำลังงงกับ 3 ตัวนี้... ว่ามันต่างกันตรงไหน ??
  • hosiery = ถุงเท้ายาว
  • stocking = ถุงเท้ายาว
  • tights = ถุงน่อง
ถุงน่องในยุคแรกๆ (ประมาณศตวรรษที่ 15) ทำจากวัสดุที่เหมือนกับผ้าพันแผล ซึ่งมักจะเป็นลำไส้สัตว์มากกว่า มีลักษณะเป็นแบบถุงเท้ายาวมากกว่า แต่การเย็บให้เป็นแบบเต็มตัวก็มีบ้าง หรือเย็บติดปิดฝ่าเท้าด้วยแผน่หนัง และที่สำคัญคือมีไว้ให้ผู้ชายใส่ เพราะเป็นส่วนประกอบของเสื้อผ้าบุรุษ ต่อมามีการนำถุงเท้ายาวทอด้วยมือจากสเปนเข้ามายังอังกฤษในศตวรรษที่ 16

ผู้หญิงเริ่มหันมาใส่ถุงเท้ายาวในยุคศตวรรษที่ 18 โดยสีเป็นตัวบอกชนชั้น เช่น สีขาวหรือสีสันนั้นจะใช้ในสังคมชนชั้นสูง ในขณะที่ชนชั้นทั่วไปสวมใส่สีดำ นับตั้งแต่ปี 1800 เป็นต้นมา ผู้ชายเริ่มเปลี่ยนจากการใส่ถุงน่องมาเป็นกางเกงทั่วไป หรือกางเกงขี่ม้า และอุตสาหกรรมการผลิตถุงน่องก็เริ่มต้นขึ้นประมาณ 1860 ทำให้มีการจำหน่ายแพร่หลายขึ้น

ทตวรรษที่ 20 มีการนำเส้นใยสังเคราะห์ที่มีความโปร่งบางกว่าฝ้าย และราคาถูกกว่าไหม มาใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า และถุงน่องตาข่ายในยุคแรกเริ่มต้นขึ้นประมาณปี 1930 จนกระทั่งในปี 1938 Dupont ได้มีการผลิตถุงเท้ายาวเนื้อไนล่อนขึ้นเป็นครั้งแรก และค่อยๆ แพร่หลายมากขึ้นในประเทศอังกฤษปี 1949 (คือ ข้อมูลในเว็บของ Independent ที่เอามามันของอังกฤษอ่าาา > <")

Aristoc ได้แนะนำถุงน่องเต็มตัวในยุค 50 ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีมายาวนานที่สุดในอังกฤษ โดยมาจากเย็บขาต่อจากกางเกงในเนื้อไนล่อน ซึ่งถุงน่องเต็มรูปแบบมีให้เห็นมากในยุค 60 และนิยมใส่ไว้ข้างในกระโปรงสั้น

ในปี 1968 Pretty Polly ได้พัฒนาถุงน่องให้เป็นแบบชิ้นเดียว และกลายเป็นแฟชั่นที่นิยมมากกว่าที่เคยเป็นมา ปลายศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการจำหน่ายถุงน่องที่มีลวดลาย และเริ่มมีการนำเส้นใย Lycra มาใช้ในการผลิตถุงน่องในปี 1985 กระบวนการผลิต Lycra แบบ 3D ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 1994 ทำให้ถุงน่องเรียบและเข้ารูปพอดีตัวมากขึ้น

ดูเหมือนว่าถุงน่องในอนาคตจะกลับมาเป็นของผู้ชายอย่างเดิม เมื่อ Wolford เปิดตัวถุงน่องสำหรับผู้ชาย!!

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วงจรสี